วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

คู่มือแพทย์

สมาชิก แพทย์ 8 ท่าน รวมผู้อำนวยการ เป็น 9 ท่าน

1 พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม
2 แนะนำโรงพยาบาล
3 แนะนำทีมแพทย์เวชปฏิบัติ
4 บทบาทหน้าที่
5 เวร
6 ค่าตอบแทน
7 การลา
8 อบรม
9 ข้อตกลงกับ OPD ER LAB IPD X-RAY 

ประชุม ตุลา 52




เริ่มประชุมเวลา 12.25 น

วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งให้ทราบ
โรงพยาบาลสังขะกำลังจะได้ตึก 5 ชั้น ซึ่งมีแผนจะมี ICU หน่วยทันตกรรม ห้องพิเศษ ห้องประชุม ในอนาคต

วาระที่ 2 เรื่องรับรองการประชุมครั้งที่แล้ว
- รับรอง

วาระที่ 3 ติดตามเรื่องเดิม
3.1 ระบบ IPD พบว่ากรณีแพทย์เวรเด็กอยู่เวร on call แพทย์ NON MED ต้องดูแลผู้ป่วย LR NON-MED ชาย หญิง MED (อีก 1 ตึกที่ MED ไม่ได้ round)ให้จัดเวร IPD เฉพาะแพทย์ที่สามารถอยู่ได้ ได้แก่แพทย์โกวิท แพทย์อำนาจ แพทย์วุฒิชัย กรณีอยู่ไม่ได้ ไม่ต้องจัด ใช้ระบบเดิมหลังดำเนินการ 1 เดือนพบว่า.......ไม่มีปัญหา
3.2 OPD และคลินิกพิเศษ OPD สามารถจัดพนักงานช่วยเหลือได้ 1 คนต่อ 2 ห้องเนื่องจากอัตรากำลังไม่พอมติที่ประชุม รับทราบและ เสนอให้พัฒนาทักษะการดูแลคนไข้หลังดำเนินการ 1 เดือน พบว่า มีการปรับดีขึ้น แต่ยังไม่ครบในบางประเด็น
3.3 LAB ....ยังพบปัญหาเดิม (Lab error)
ประธานแจ้งว่ากำลังปรับเปลี่ยนระบบให้ใหม่ ฝากแพทย์ช่วยดูแลกำกับด้วย
3.4 ปัญหาแพทย์ เหนื่อยล้าจากภาระงาน ได้นำเสนอหาแนวทางดังนี้
1 หาแพทย์จากที่อื่นมาช่วยอยู่เวร ในที่ประชุมเห็นด้วย
2 กรณีโรงพยาบาลสุรินทร์ โรงพยาบาลปราสาท แก้ปัญหาโดยให้ staff ช่วยอยู่เวร ER
3 แพทย์วุฒิชัย เสนออยู่เวรวันหยุดเพิ่มจาก IPD เป็นอยู่เวร IPD OPD ER ด้วย
4 ผลักดันให้มีแพทย์เพิ่ม 10-12 คนต่อปี
5 โรงพยาบาลตำบลน่าจะช่วยลดปริมาณคนไข้ได้บ้าง แต่ต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งหากต้องการลดผู้ป่วยช่วง 16.00 - 20.00 และวันหยุดด้วย โรงพยาบาลตำบลอาจต้องขยายเวลาให้เทียบเท่าโรงพยาบาลสังขะ
6. เพิ่มค่าตอบแทนเวร ER เป็น 1.5 เท่า
7. ใช้วันลาพักผ่อนลาพักผ่อนบ้าง แทนวันหยุด โดยอนุโลมให้แพทย์ลาพักผ่อนได้ 2 คน บางกรณี (ที่ผ่านมาแพทย์ไม่สามารถหาแพทย์อื่นมาแทนได้ จึงไม่สามารถลาพักผ่อนได้)
8.ในปี 2553 ถ้าอัตรากำลังแพทย์เท่าเดิมคือ 8 ท่าน ได้แก่ กุมารแพทย์ 1 สูตินรีแพทย์ 1 แพทย์ทั่วไป 6 ภาระงานอาจหนักกว่าเดิม
ผู้อำนวยการเห็นด้วย 1,3,4,5,7,8 แนะนำว่า ให้หาแพทย์จาก รพ.อื่นหรือ แพทย์ รntern ล่วงหน้า ให้รถไป รับ-ส่ง ได้
ส่วนข้อ 6 ต้องเป็นคำสั่งจาก สสจ จึงสามารถทำได้
3.5 จากการประชุม ค ป ร ครั้งที่แล้วประธานมอบให้สำรวจครุภัณฑ์ต่าง ๆ ผลดังตารางที่แนบมา
พ.วุฒิชัยได้ประสานคุณทัศนีย์บันทึกขอเครื่องอัลตราซาวด์เพิ่ม รวมโรงพยาบาลต้องการ 3 เครื่อง
1 เครื่องอัลตราซาวด์ห้องคลอด ย้ายไป คลินิก ANC
2 เครื่องอัลตราซาวด์ห้องฉีดยา ย้ายไปห้องคลอด
3 เครื่องอัลตราซาวด์ใหม่ ไว้ที่ห้องฉีดยา
แพทย์ได้นำเสนอปัญหาเดือนกันยายน 1 ตุลาคม พบว่าเครื่องอัลตราซาวด์มีใช้ได้ 1 เครื่อง เสีย 1 ครั้ง แพทย์วุฒิชัยได้ประสานเภสัชพิษณุแล้ว รอดำเนินการติดตั้ง คาดว่าน่าจะได้ภายในเดือนนี้
3.6 ห้องตรวจ 4 – 9 ยังพบปัญหา ร้อน รั่ว เก้าอี้แข็ง
แพทย์เสนอปรับจอคอมพิวเตอร์เป็นจอ LCD เพื่อเพิ่มเนื้อที่บนโต๊ะตรวจ เสนอขอโต๊ะตรวจใหม่
ผู้อำนวยการ จะเปลี่ยนโต๊ะให้ แก้ปัญหาห้องตรวจให้ วางแผนว่าจะรื้อฝ้าใหม่ เมื่อฝนลดลง
4.0 ทีมแพทย์เห็นว่าอัตรากำลังห้องฉีดยา(วันหยุด) เปล ER (บ่ายและวันหยุด)ไม่เพียงพอ เสนอจัดให้เพียงพอกับภาระงาน
มติที่ประชุม นำเสนอผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการรับทราบ
4.1 โครงการ audit 100 %
ผ่านไป 12 วันพบว่า..ได้ผลดี ผลการปรับ DRG เพิ่มขึ้น

วาระที่ 4 เรื่องเสนอจากที่ประชุม.
1 ขออนุมัติ กล่องดู film ห้องไข้หวัดใหญ่ อ่างล้างมือ ดำเนินการแล้ว
2 บันทึกขอนาฬิกาติดผนัง 4 ตัว ดำเนินการแล้ว
3 บันทึกขอโต๊ะวางกล้องจุลทรรศน์ ดำเนินการแล้ว
4 แพทย์เสนอให้พิมพ์ใบรับรองแพทย์ที่ ward แทนการเขียนเพื่อลดเวลาการเขียน ได้ ประสานคุณชินพงษ์แล้วรับดำเนินการเพิ่มช่อง ส่ง รพ สต สะกาด ตรวจ ตาตุมเพิ่มช่อง นัดตรวจที่ สถานีอนามัย ใกล้บ้าน
5 หนังสือ MIM ประสานห้องยาแล้ว จะจัดซื้อ internal drug handbook (เนื้อหาดีกว่า) ให้แทน 2 เล่ม
6 แพทย์วุฒิชัยเสนอ ค่านิยมทีมแพทย์ รพ สังขะ ตรงต่อเวลา รับผิดชอบ จรรยาบรรณ
สมัครสมาน สามัคคี senirity เบื้องต้น รอปรับในการประชุมเดือนถัดไป
7 จากการสำรวจห้องพักแพทย์พบว่าเครื่องพิมพ์เดิมช้า ต้องเปลี่ยนหมึกบ่อย แพทย์เสนอขอเปลี่ยนเป็นเครื่องพิมพ์ชนิด Laser jet
แพทย์วุฒิชัยได้ประสานคุณชินพงษ์แล้ว พบว่าไม่มีจุดไหนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ จึงอนุมัติซื้อใหม่(13 ตุลาคม 2552) และย้ายเครื่องเดิมให้คลินิก Thalassemia ของแพทย์นันทภัทร
8 แพทย์สนองเสนอ Rapid test เข้าเพื่อใช้ตรวจช่วยในกรณีที่สงสัย scrub thyphus typhoidประธานมอบหมายให้ปรึกษากับห้อง LAB และนำเสนออีกครั้ง
9 แพทย์เสนอคลินิกไข้หวัด พบปัญหาผู้ป่วยมาก ที่ประชุมมอบทีมคลินิกไข้หวัด (IC) ปรับระบบ screen
10 แพทย์นันทภัทรจะดำเนินการคลินิกธาลัสซีเมียให้เกิดขึ้น ซึ่งจะให้บริการเด็กธาลัสซีเมียในวันพฤหัสเช้า จึงขออนุญาตเสนอโครงการและแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
11 ปัญหาเครื่อง Defibrillator ER เสีย ER ได้ดำเนินการแจ้งซ่อมไปแล้ว ได้แก้ปัญหาเบื้องต้นคือ นำเครื่องประจำห้องคลอดมาใช้ปัจจุบันมีเครื่อง Defibrillator 5 เครื่องด้วยกัน
1 ไว้ที่ ER
2 ห้องคลอด
3 ตึกหญิง
4 ตึกชาย
5 ตึกเด็ก
บนรถ refer เป็นชนิด AED ติดไว้บนรถ
จาการการสำรวจพบว่า Defibrillator ER เสีย ยืมห้องคลอดมาใช้ AED บนรถ เครื่องชาร์ตเสีย ดำเนินการจัดซื้อแล้ว ยังไม่ได้ ในเดือนกันยายนมี case refer ที่ต้องใช้เครื่อง Defebrillator 8 case ออก EMS ที่ต้องใช้ Defibrillator 7 caseสรุปเครื่องมี Defebrillator 5 ใช้ได้ 4 AED 1 ใช้ไม่ได้ที่ควรเป็นคือ Defibrillator 5 ควรใช้ได้ มากกว่าหรือเท่ากับ 4 AED หรือ defibrillator บนรถควรใช้ได้ตลอด 1
จึงขออนุมัติซื้อเครื่อง Defebrillator อีก 1 เพื่อใช้บนรถ refer หรือ EMS (สามารถใช้ทดแทนกรณี ER เสียเหมือนกรณีเดือนตุลาคม 52)
13 ปัญหา IPD
แพทย์เสนอปัญหาแพทย์ Round ผู้ป่วยใน ญาติผู้ป่วยมากเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการดูแลคนไข้
แพทย์เสนอให้มีการกำหนดเวลาเยี่ยม IPD ช่วยเคลียร์ญาติขณะแพทย์ round
ประธานเห็นด้วย มอบแพทย์วุฒิชัย นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลประจำเดือนตุลาคม 2552

วาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ
นัดประชุมครั้งต่อไป ......
ปิดประชุมเวลา 13.40 จุฑารัตน์ พิมพ์

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

แพทย์ ปี 2552








Leadership

องค์กรควรมีนโยบายที่จะให้พนักงานได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
เสนอแนะรูปแบบการทำงาน การออกกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่คนทำงานทุกคนจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจร่วมกัน

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

24 กันยา วันมหิดล

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ฯ

ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2435 ณ พระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงเข้าพิธีโสกันต์เมื่อพระชันษาได้ 13 พรรษา และเมื่อเข้าพิธีโสกัณต์แล้ว ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรม ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2447 และลาผนวชเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2447 ด้วยสมเด็จพระชนกนาถมีพระประสงค์ที่จะส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อในต่างประเทศ พระองค์จึงได้เสด็จไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2448 ณ โรงเรียนกินนอน แฮร์โรว์ เมื่อทรงศึกษาจบจากโรงเรียนแห่งนี้แล้ว ในปี พ.ศ. 2450 จึงเสด็จไปศึกษาต่อที่ Royal Prussian Military College เมืองโพสต์แดม ( Potsdam)ประเทศเยอรมนี ต่อจากนั้นทรงย้ายไปศึกษาต่อที่ Imperial German Naval College Flensburg และทรงจบการศึกษาในปี พ.ศ.2454 โดยทรงสอบไล่ได้ในอันดับที่ 2 นอกจากนั้นยังทรงชนะการ


ประกวดออกแบบเรือดำน้ำอีกด้วย

หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาในวิชาทหารเรือ ทรงเสด็จนิวัติกลับประเทศ ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือประจำกรมเสนาธิการ ในตำแหน่ง นายเรือตรี นายเรือโท และนาวาเอก ตามลำดับ หลังจากนั้นทรงลาออกจากราชการทหารเรือ เพื่อศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีพระราชดำรัสก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่ต่างประเทศว่า

" ฉันจะไปเรียนหมอหละ เพราะเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจนคนมั่งมี และเจ้านายต่าง ๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศล ในการรักษาพยาบาลได้ดี เมืองไทยเราถ้าเจ้านายทรงทำหน้าที่อย่างสามัญชนเข้าบ้างเขาว่าเสียพระเกียรติ ฉันรู้สึกว่ามัวแต่รักษาพระเกียรติอยู่ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน"


ในปี พ.ศ. 2460 ทรงเดินทางไปศึกษาต่อวิชาเตรียมแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อจากนั้นในปี พ.ศ.2462 ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาสาธารณสุขและปรีคลินิกบางส่วนที่ School of Health office Harvard University and the Massachusetts Institute of Technology ในปี พ.ศ.2463 ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นิวัติกลับประเทศครั้งหนึ่งเนื่องในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชริทรา บรมราชินีนาถ ระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศไทยทรงได้เข้าปฎิบัติร่วมกับนักศึกษา และเจ้าหน้าที่แพทย์ ภายในห้องทดลองวิทยาศาสตร์โรงพยาบาลศิริราชทรงเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนเตรียมแพทย์ แผนกอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พระองค์พระราชทานทุนการศึกษาในต่างประเทศให้กับบุตรหลานของเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาในวิชาแพทย์ ชีววิทยา ฟิสิกส์และเคมีเป็นจำนวนเงินถึง 200,000 บาท อีกทั้งยังทรงนิพนธ์หนังสือชื่อว่า Tuberculosis เพื่อจัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หลังจากนั้นจึงเสด็จกลับไปศึกษาจนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2464 ทรงได้รับประกาศนียบัตร C.P.H. เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วจึงเสด็จประพาสยุโรป ในระหว่างนั้นทางกระทรวงธรรมการกำลังเจรจาขอทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯได้ทรงรับมอบอำนาจในการเจรจาครั้งนั้น เนื่องจากทรงมีความรู้ความชำนาญในวิชาแพทย์มากกว่าผู้ใด ทรงเจรจาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ในการขยายและปรับปรุงด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งทางมุลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ก็ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการส่งอาจารย์แพทย์มามาถึง 6 ท่าน และมอบเงินเพื่อจัดสร้างตึกในโรงพยาบาลศิริราชเป็นจำนวนเงินถึง 400,000 บาท อีกทั้งยังมอบทุนให้กับแพทย์เพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศอีกด้วย





นับว่าเป็นผลอันเกิดจากการเจรจาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนกพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่ง คือ เมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ทรงริเริ่มโครงการเพื่อปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น ทรงดัดแปลงโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสำหรับคลอดบุตร และเป็นศูนย์อบรมพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลสาธารณสุข สังคมศาสตร์ และหมอตำแย เพื่อให้การคลอดบุตรมีความทันสมัย และปลอดภัยมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมิใช่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลเท่านั้นที่พระราชทานความช่วยเหลือจนมีความเจริญ แต่ยังพระราชทานความช่วยเหลือไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ อีก เช่น พระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลแมคคอมิค สำหรับจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ จำนวน 16,000 บาท และเพื่อซื้อเครื่องเอกซเรย์อีก จำนวน 6,750 บาท และพระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลสงขลาอีกปีละ 5,000 บาทเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกกรมต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาล ตะละภัฏ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ณ วังสระปทุม มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่






สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชการที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประชวรด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกน ประชวรนานถึง 4 เดือน ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาแต่อาการไม่ดีขึ้น ทำให้เกิดโรคพระอาการบวมน้ำในพระปัปผาสะแทรกซ้อน และพระหทัยวายในที่สุด และเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472






สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกHis Royal Highness Prince Mahidol of Songkla“พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”“The Father of Modern Medicine in Thailand”

ประชุมประจำเดือนกันยายน 2552


วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งให้ทราบ
1.1 ประธาน นำเสนอและสำเนาบันทึกการประชุม ค ป ร ให้ที่ประชุมรับทราบ
1.2 กุมารแพทย์แจ้งผลการประเมินสายใยแม่และลูกจากเขต ผลได้ระดับทอง
วาระที่ 2 เรื่องรับรองการประชุมครั้งที่แล้ว
- รับรอง
วาระที่ 3 ติดตามเรื่องเดิม
3.1 ระบบRound MED NON-MED เด็ก และตรวจบ่าย พบว่าไม่มีปัญหา
3.2 ระบบ IPD พบว่ากรณีแพทย์เวรเด็กอยู่เวร on call แพทย์ NON MED ต้องดูแลผู้ป่วย LR NON-MED ชาย หญิง MED (อีก 1 ตึกที่ MED ไม่ได้ round)
ในที่ประชุมมี 2 ความเห็นคือ
3.2.1 เห็นด้วยให้มีการเพิ่มเวร IPD เด็กแทนในวันที่กุมารแพทย์เวร on call
3.2.2 ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงว่าอัตรากำลังไม่พอเนื่องจากต้องใช้แพทย์อยู่เวร 5 คนต่อวัน
มติที่ประชุม
ให้จัดเวร IPD เฉพาะแพทย์ที่สามารถอยู่ได้ ได้แก่แพทย์โกวิท แพทย์อำนาจ แพทย์วุฒิชัย กรณีอยู่ไม่ได้ ไม่ต้องจัด ใช้ระบบเดิม
3.3 จัดซื้อ
- ชุดกาแฟได้วันนี้ (ครบ 2 เดือนหลังขออนุมัติ)
- กล้องจุลทรรศน์ ได้แล้ว ขาดโต๊ะวาง ดำเนินการขอเพิ่ม
3.4 การเรียง chart ทุกตึกจัดเรียงเหมือนกันแล้ว ไม่พบปัญหา
3.5 OPD และคลินิกพิเศษ
จากการที่เสนอพยาบาลหรือพนักงานช่วยเหลือคนไข้ ประจำห้องตรวจ 1 คนต่อห้อง จากการติดตามความคืบหน้าจากคุณพนิดา พบว่าสามารถจัดพนักงานช่วยเหลือได้ 1 คนต่อ 2 ห้องเนื่องจากอัตรากำลังไม่พอ
มติที่ประชุม รับทราบและ เสนอให้พัฒนาทักษะการดูแลคนไข้ของพนักงานช่วยเหลือผู้ป่วยในเรื่อง
- ทักษะการช่วยตรวจ เตรียมคนไข้
- การให้คำแนะนำ
3.6 LAB ยังพบปัญหาเดิม คือ LAB error

วาระที่ 4 เรื่องเสนอจากที่ประชุม

4.1 ในที่ประชุม นำเสนอปัญหาแพทย์ ตอนนี้ประสบปัญหาแพทย์เหนื่อยล้าจากภาระงาน เช่นวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ต้องอยู่เวร 6 วันใน 8 วัน ทำให้มีวันพัก 2 วันต่อเดือน เช่นเวรห้องฉุกเฉินต้องดูคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง ในที่ประชุมได้นำเสนอหาแนวทางดังนี้

1 หาแพทย์จากที่อื่นมาช่วยอยู่เวร ในที่ประชุมเห็นด้วย แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาแพทย์ที่อื่นมาอยู่ได้เลย เนื่องจากแพทย์ที่อื่นไม่เพียงพอ
2 กรณีโรงพยาบาลสุรินทร์ โรงพยาบาลปราสาท แก้ปัญหาโดยให้ staff ช่วยอยู่เวร ER
3 แพทย์วุฒิชัย เสนออยู่เวรวันหยุดเพิ่มจาก IPD เป็นอยู่เวร IPD OPD ER ด้วย เพื่อแบ่งเบาภาระแพทย์อีก 5 ท่าน
4 ผลักดันให้มีแพทย์เพิ่ม 10-12 คนต่อปี
5 โรงพยาบาลตำบลน่าจะช่วยลดปริมาณคนไข้ได้บ้าง แต่ต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งหากต้องการลดผู้ป่วยช่วง 16.00 - 20.00 และวันหยุดด้วย โรงพยาบาลตำบลอาจต้องขยายเวลาให้เทียบเท่าโรงพยาบาลสังขะ
6. เพิ่มค่าตอบแทนเวร ER เป็น 1.5 เท่า
7. ใช้วันลาพักผ่อนลาพักผ่อนบ้าง แทนวันหยุด โดยอนุโลมให้แพทย์ลาพักผ่อนได้ 2 คน บางกรณี (ที่ผ่านมาแพทย์ไม่สามารถหาแพทย์อื่นมาแทนได้ จึงไม่สามารถลาพักผ่อนได้)
8.ในปี 2553 ถ้าอัตรากำลังแพทย์เท่าเดิมคือ 8 ท่าน ได้แก่ กุมารแพทย์ 1 สูตินรีแพทย์ 1 แพทย์ทั่วไป 6 ภาระงานอาจหนักกว่าเดิม


4.2 จากการประชุม ค ป ร ครั้งที่แล้วประธานมอบให้สำรวจครุภัณฑ์ต่าง ๆ ผลการสำรวจเป็นดังตารางที่แนบมา
4.3 ปัญหาห้องตรวจ 4 – 9 ยังพบปัญหา ร้อน รั่ว เก้าอี้แข็ง
แพทย์เสนอปรับจอคอมพิวเตอร์เป็นจอ LCD เพื่อเพิ่มเนื้อที่บนโต๊ะตรวจ เสนอขอโต๊ะตรวจใหม่
มติที่ประชุม นำเสนอผู้อำนวยการ
4.4 ทีมแพทย์เห็นว่าอัตรากำลังห้องฉีดยา(วันหยุด) เปล ER (บ่ายและวันหยุด)ไม่เพียงพอ เสนอจัดให้เพียงพอกับภาระงาน
มติที่ประชุม นำเสนอผู้อำนวยการ
4.5 แพทย์วุฒิชัย นำเสนอระบบ audit refer and consult case โรงพยาบาลตำบล และเสนอให้ส่งผู้ป่วย DM HT COPD Bronchitis ที่ stable ให้ส่งลงโรงพยาบาลตำบลได้ .......นำเข้า รพ ตำบล
ที่ประชุมรับทราบ
4.6 แพทย์สนองแจ้งว่าโครงการ audit เวชระเบียนผู้อำนวยการอนุมัติแล้ว แพทย์ต้อง audit 100 % แยกเป็น MED แพทย์สนองรับ audit แพทย์นันทภัทรรับ audit case เด็ก แพทย์อำนาจรับ audit case สูตินรีเวชกรรม แพทย์สาวิการับ audit NON MED โดย audit นอกเวลาราชการ ได้ค่าตอบแทน 5 บาทต่อ 1 เวชระเบียน
ที่ประชุมเห็นด้วย

วาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ

นัดประชุมครั้งต่อไป ยังไม่กำหนด ..