วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ธรรมนูญองค์กรแพทย์

ธรรมนูญองค์กรแพทย์
ธรรมนูญองค์กรแพทย์ ธรรมนูญองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลสังขะ

หมวดที่ 1
ข้อที่ 1 บททั่วไป
1.1 องค์กรนี้ชื่อว่า “องค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ
1.2 สำนักงานห้องพักแพทย์
1.3 ธรรมนูญองค์กรแพทย์ หมายถึง กฎหรือระเบียบซึ่งเป็นข้อบังคับในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรแพทย์
ข้อที่ 2 วัตถุประสงค์
2.1 รักษามาตรฐานทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
2.2 เสริมสร้างความเข้าใจ และความสามัคคีในกลุ่มแพทย์
2.3 ประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น
2.4 วิเคราะห์นำเสนอการบริหารทางการแพทย์ โดยสอดคล้องกับนโยบายโรงพยาบาลสังขะและกระทรวงสาธารณสุข
2.5 ร่วมในการพัฒนาโรงพยาบาลตามนโยบายของโรงพยาบาล
2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สมาชิกองค์กร

หมวดที่ 2สมาชิกองค์กรแพทย์
ข้อ 3 สมาชิกองค์กรแพทย์ได้แก่ แพทย์ที่ปฏิบัติราชการโรงพยาบาลสังขะ
ข้อ 4 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดเมื่อ ตาย ลาออกจากราชการ ย้ายไปปฏิบัติงานที่อื่น

หมวดที่ 3 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 5 ประธานองค์กรแพทย์ คือหัวหน้าแพทย์เวชปฏิบัติ ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการ
ข้อ 6 สมาชิกมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
6.1 ดำเนินการขององค์กรแพทย์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
6.2 ตั้งคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกิจกรรมขององค์กรแพทย์
6.3 ดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือมติขององค์กรแพทย์
หมวดที่ 4 การจัดประชุม
ข้อ 7.1 ต้องจัดให้มีการประชุมองค์กรแพทย์อย่างน้อยทุก 1 เดือนและต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 % ของสมาชิกจึงถือว่าครบองค์ประชุม

หมวดที่ 5 มติขององค์กรแพทย์
ข้อ 8 มติขององค์กรแพทย์ถือเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับที่สมาชิกต้องปฏิบัติ
ข้อ 9 การลงมติใดๆ จะมีได้ต่อเมื่อมีผู้เข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม
ข้อ 10 คณะกรรมการองค์กรแพทย์จะต้องแจ้งมติการประชุมให้สมาชิกทุกคนทราบ

หมวดที่ 6 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงธรรมนูญองค์กรแพทย์จะกระทำโดยมีสมาชิกร่วมลงชื่อสนับสนุน
อย่างน้อยเกินครึ่งของสมาชิกทั้งหมดเสนอผ่านผู้อำนวการ

....MED.1 เป้าหมายและวัตถุประสงค์
    มีการกำหนดพันธกิจ ขอบเขต เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการจัดบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล และของหน่วยให้บริการทางการแพทย์แต่ละสาขา เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนองค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ

    มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อธำรงรักษามาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตลอดจนการพัฒนาเวชปฏิบัติและทบทวนวิชาการเพื่อบริการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยและต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติศึกษา วิเคราะห์งานด้านเวชระเบียนและข้อมูลการบริการทางการแพทย์หรือตัวชี้วัด พร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนที่มารับการรักษาจากโรงพยาบาลสังขะ มั่นใจว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ อีกทั้งเป็นองค์กรส่งเสริมความสามัคคีระหว่างสมาชิก และประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนาคุณภาพงานบริการแก่ผู้ป่วย และเป็นที่แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทางวิชาชีพและสามารถสรุปเป็นมติขององค์กรแพทย์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลสังขะ


MED.2 การจัดองค์กรและการบริหาร

มีการจัดองค์กรและการบริหารเพื่อจัดให้มีบริการทางการแพทย์ ตามพันธกิจที่กำหนดไว้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพโรงพยาบาลสังขะ จัดแบ่งองค์กรแพทย์แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ลักษณะ
ได้แก่1.โครงสร้างการบริหาร
2.โครงสร้างคณะทำงานด้านคุณภาพ แพทย์ทุกท่านรับผิดชอบงานคุณภาพทุกคน เป็นแกนนำในการัฒนางานคุณภาพในทุก ๆ ด้าน


MED.3 การจัดการทรัพยากรบุคคลมีการคัดเลือกการกำหนดสิทธิการดูแลผู้ป่วย การจัดอัตรากำลัง และการดูแลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้แพทย์ที่มีความรู้ ทักษะ และจำนวนที่เหมาะสมกับภาระงาน

3.1 มีการจัดจำนวนแพทย์ปฏิบัติงานเพียงพอตามความจำเป็นของผู้ป่วยจำนวนการปฏิบัติงานของแพทย์ขึ้นกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยทางกลุ่มงานต่าง ๆ จะรับผิดชอบจัดสรรแพทย์ให้พอเพียงต่อการปฏิบัติแต่ละด้าน โดยให้แต่ละกลุ่มงานได้วิเคราะห์ภาระงาน ความจำเป็นและการปฏิบัติที่เหมาะสมกับจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ และทางกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพจะจัดสรรจำนวนแพทย์ใช้ทุน ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานในกลุ่มงานต่าง ๆ โดยเสมอภาคตามข้อกำหนดของกระทรวง

3.2 มีกลไกดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรมและแพทย์เวรที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ กลไกการดูแลแพทย์ฝึกหัดที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ- ปฐมนิเทศรวม โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ แบ่งเป็นปฐมนิเทศในสถานที่ จะมีการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน สิทธิ ผลประโยชน์ นโยบายโรงพยาบาล และนอกสถานที่ จะเน้นถึงความสัมพันธ์ในองค์กร , ปฐมนิเทศย่อยของกลุ่มงาน โดยจัดทำคู่มือปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนให้ด้วย- ได้มีการสื่อสารจนมีความเข้าใจร่วมกันให้มีการปรึกษาผ่านระบบสื่อสารได้ตลอดเวลา


MED.4 การพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีการเตรียมความพร้อม การพัฒนา และการฝึกอบรมให้กับแพทย์ เพื่อส่งเสริม และเอื้ออำนวย ให้เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของแพทย์แต่ละคน

4.1 มีการประเมินความต้องการและกำหนดเนื้อหาในการฝึกอบรมทางโรงพยาบาลมีนโยบายส่งเสริมด้านการพัฒนางานในด้านวิชาการและความรู้ โดยแพทย์ทุกคนสามารถสมัครไปอบรมเรื่องวิชาชีพ และความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างน้อย 2 ครั้ง/คน/ปี โดยเนื้อหาจากการประชุมมีประโยชน์ภายในกลุ่มงานสามารถนำมาพัฒนาศักยภาพ เฉพาะด้านในแต่ละคนได้

4.2 มีแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านแพทย์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานโรงพยาบาลสนับสนุนให้แต่ละกลุ่มงานร่วมประชุมวิชาการภายในกลุ่มงาน โดยสามารถเชิญวิทยากรภายนอกได้อย่างอิสระ และสนับสนุนเงินทุนด้านตำราหนังสือวิชาการเข้าห้องสมุดและห้องพักแพทย์ทุกปี สำหรับงานบางด้านที่ต้องการความรู้เฉพาะด้าน มีการสื่อสารให้แพทย์ผู้เกี่ยวข้องไปอบรมโดยตรงตามความเหมาะสมไม่จำกัดจำนวนครั้ง

4.3 มีการจัดปฐมนิเทศสำหรับแพทย์ใหม่ หัวหน้าหน่วยงาน และประธานคณะกรรมการ ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ ในเรื่องนโยบาย วิธีการทำงาน และความคาดหวังขององค์กรทางโรงพยาบาลได้จัดปฐมนิเทศให้แก่แพทย์จบใหม่และผู้ที่ย้ายมาปฏิบัติงานใหม่ทุกปี รวมถึงปฐมนิเทศภายในหน่วยงานเพื่อให้รับทราบระเบียบละแนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้อง และนโยบายโรงพยาบาลสังขะ

4.4 มีการพัฒนา ฝึกอบรม และศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ ที่สอดคล้องกับปัญหาการดูแลรักษาผู้ป่วย โรงพยาบาลมีกลุ่ม resource plan ประสานงานกับองค์กรแพทย์ โดยคำนึงถึงศักยภาพที่มีอยู่ ดังนั้นแพทย์ทุกคนที่รับผิดชอบงานต่าง ๆ มีการวางแผนส่งแพทย์ไปอบรม เพื่อปฏิบัติงานแก้ปัญหาของโรงพยาบาล

4.5 มีการประเมินแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปของการเปลี่ยนพฤติกรรม และผลกระทบต่อการดูแล/บริการผู้ป่วยองค์กรแพทย์ มีการประเมินผลการปรับแผนพัฒนาทรัพยากรทุกปี เพื่อสอดคล้องกับผลกระทบต่อการดูแล/บริการผู้ป่วย


MED.5 ธรรมนูญ ข้อบังคับ นโยบายและวิธีปฏิบัติมีธรรมนูญ ข้อบังคับ นโยบายและวิธีปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งสะท้อนความรู้และหลักการวิชาชีพที่ทันสมัย สอดคล้องกับพันธกิจของบริการทางการแพทย์/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และทุกคนยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

5.1 มีการจัดทำธรรมนูญหรือข้อบังคับขององค์กรแพทย์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลมาตรฐานและจริยธรรมการทำงานโดยกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันเอง โดยคณะแพทย์มีส่วนร่วมในการจัดทำ และได้รับการรับรองจากองค์กรบริหารสูงสุด

5.2 มีกระบวนการจัดทำนโยบาย/วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ รวมทั้งมีระบบในการรับรอง เผยแพร่ และทบทวน คณะกรรมการองค์กรแพทย์มีการจัดทำนโยบาย วัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กรแพทย์

5.3 เนื้อหาของนโยบาย/วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแพทย์มีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาล ครอบคลุมเรื่องของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การบริหารจัดการ ประเด็นทางจริยธรรม/กฎหมาย/สังคม ความปลอดภัย และการพัฒนากำลังคนนโยบายขององค์กรแพทย์ ประกอบด้วย 4 ข้อ
- พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแพทย์
- พัฒนาและทบทวนวิชาการให้ทันสมัยสอดคล้องกับการปฏิองแพทย์บัติงาน
- พัฒนาความสมบูรณ์และวิเคราะห์งานด้านเวชระเบียน
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของแพทย์
- สอดคล้องกลยุทธ์ของโรงพยาบาลในงานด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานวิชาชีพ

5.4 แพทย์ทุกคนรับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบาย/วิธีปฏิบัติข้อตกลง/ข้อปฏิบัติใด ๆ ในองค์กรแพทย์ที่สำคัญจะต้องผ่านการรับรองจากสมาชิกทุกคนขององค์กรแพทย์

MED.6 การดูแลผู้ป่วยแพทย์ทุกคนให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ และอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่ทันสมัย

6.1 มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างสหสาขาวิชาชีพต่างๆและภายในวิชาชีพแพทย์งานด้านการดูแลผู้ป่วยร่วมกันในระหว่างสหสาขาวิชาชีพ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของแพทย์ ได้แก่ การรวบรวม PCT ของทีมเฉพาะด้าน เช่น ผลงานการดูแลผู้ป่วยของแต่ละ PCT
Melioidosis treatment
สูตรผสม Inotrope drugs
Epilepsy guideline
Hypertensive crisis guideline
Cellulitis - NF guideline
Acute febrile guideline
Strongyloidosis treatment
H1N1 guideline
Leptospirosis guideline
Malaria guideline
http://sangkha-medicine.blogspot.com/2009/11/155-70yr-f-dizziness-1-mo.html-

- PCT สูตินรีเวชกรรม : แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
- PCT กุมารเวชกรรม : แนวทางการดูแลเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย


- PCT เวชปฏิบัติทั่วไป :
แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน หอบหืด วัณโรค เอดส์ ผู้สูงอายุ
แนวทางการดูแลผูป่วยเบาหวานและความดันที่ PCU
การรับปรึกษาระหว่างแผนกมีแนวทางการรับปรึกษาชัดเจนระหว่างแผนก เช่น แนวทางการรับปรึกษาผู้ป่วยแผนก อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ใน/นอกเวลาราชการ

6.2 ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการดูแลรักษาถือเป็นข้อตกลงร่วมกับของสมาชิกองค์กรแพทย์ โดยคณะอนุกรรมการ จริยธรรมวิชาชีพ และสิทธิผู้ป่วย กำหนดให้มีแนวทางการให้ข้อมูลผู้ป่วยของแพทย์ เช่น การให้ข้อมูลการวินิจฉัยโรค, การดำเนินการของโรค,การพยากรณ์โรค,ทางเลือกในการรักษา และให้ผู้ป่วย มีสิทธิเลือกแนวทางการรักษา

6.3 มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว กับทีมผู้ให้บริการทางองค์กรแพทย์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่แพทย์ต้องให้การบริการแก่ผู้ป่วย และญาติ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย

6.4 ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการประเมินและวางแผนการดูแลรักษาเป็นระยะองค์กรแพทย์ได้กำหนดให้มีการพัฒนาการประเมินผู้ป่วยเป็นระยะ โดยเริ่มทำผ่านทาง progress note ของแพทย์ เพื่อสะดวกในการประเมินลักษณะทางคลินิกตลอดจน แผนการรักษาที่ปรับเปลี่ยนตามอาการทางคลินิก ของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลง

6.5 กระบวนการให้บริการและดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ของโรงพยาบาล มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) ของโรงพยาบาล ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิผลของวิธีการรักษาองค์กรแพทย์โดย PCT ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติการรักษาโรคที่สำคัญ พบบ่อย และมีความเสี่ยงสูง โดยมุ่งเน้นคุณภาพของการรักษา และความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วย ญาติและผู้ให้บริการ

6.6 มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ปัญหาของผู้ป่วย แผนการดูแลรักษา การปฏิบัติตามแผน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้บริการและเกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษาคณะกรรมการองค์กรแพทย์ได้จัดทำ Admission note ,orderและจัดทำ Progress note มีประโยชน์ ในการสื่อการ การเปลี่ยนเเปลงทางคลินิกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานแพทย์ พยาบาล ทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยร่วมกัน

6.7 มีกระบวนการที่จะช่วยให้ผ้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตปกติกับครอบครัวได้เร็วที่สุดองค์กรแพทย์ผ่านทุก PCT มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องถึงระดับในชุมชน โดย PCU ในด้านการดูแลต่อเนื่องให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตตามปกติกับครอบครัวได้เร็วที่สุด และรายงานกลับโดยใช้แบบ บส.1ทุก PCT มี Discharge plan ในโรคที่สำคัญ

MED.7 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพมีกิจกรรมติดตามประเมินและพัฒนาคุณภาพของการให้บริการทางการแพทย์ โดยการทำงานเป็นทีม สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของโรงพยาบาล และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

7.1 มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของบริการทางการแพทย์ โดยความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ/ทุกสาขาวิชาชีพ ทั้งภายในหน่วยงาน/ระหว่างหน่วยงาน ภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารทางการแพทย์ทางองค์กรแพทย์ ตัวอย่าง Grand round PCT conference caee มีตัวแทนของสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์เฉพาะทาง , แพทย์ใช้ทุน พยาบาล เภสัช นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย นักโภชนากร

การดูแลผู้ป่วยในโรคอุบัติใหม่ที่สำคัญของอำเภอสังขะ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ (swine flu) ซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงและสำคัญ ระดับประเทศ ซึ่งทางแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร่วมกันกำหนดแผนในการเตรียมรับสถานการณ์ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างดี ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร จนไม่มีปัญหาในการรับผู้ป่วยดังกล่าว สามารถกำหนดสถานที่รองรับที่ถูกต้องตามระบาดวิทยา และได้จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เป็นมาตรฐานของโรงพยาบาลของโรงพยาบาลสังขะ

7.2 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพประกอบด้วย

7.2.1การวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วยและลูกค้า (customer) หรือบุคคล/หน่วยงานที่ใช้บริการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางองค์กรแพทย์ได้รับข้อมูลการวิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการจากหน่วยงานด่านหน้า ได้มาปรับให้บริการเหมาะสมยิ่งขึ้น ได้แก่ ปรับให้มีแพทย์ออกตรวจช่วงเวลา 07.30 - 08.30 และ 16.30 - 20.00

7.2.2 การควบคุมกำกับ (monitor) ข้อมูลและสถิติ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญการควบคุมเกี่ยวกับข้อมูลและสถิติ ได้กระทำผ่าน PCT ทุกเดือน โดยศูนย์ข้อมูล และกลุ่มพัฒนาบริการสุขภาพ ได้จัดทำข้อมูล และนำไปวิเคราะห์ผลเพื่อการปรับปรุงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ตัวชี้วัดของนโยบายพัฒนาคุณภาพขององค์กรแพทย์ ดังนี้
นโยบายเครื่องชี้วัดผ
ลลัพธ์1. พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแพทย์
1.1 Preventable Death ลดลง > 40 %
1.2 ลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ไม่เกิน 3: 100
1.3 จำนวนเรื่องร้ายแรงที่ถูกร้องเรียนเกี่ยวกับองค์กรแพทย์

พัฒนาและทบทวนวิชาการทันสมัย
1.1 จำนวนหรือ % ของ CPG ที่มีและมี การใช้งานอย่างต่อเนื่อง
1.2 อัตราการพัฒนาบุคลากรทางด้านแพทย์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 CPG ใช้งาน ...%

พัฒนาความสมบูรณ์ และวิเคราะห์งาน ด้านเวชระเบียน
1.1 ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนไม่น้อยกว่า 50 %

2.3 การเลือกกิจกรรมหรือกระบวนการดูแลรักษาและบริการที่สำคัญมาประเมินและปรับปรุง

7.2.4 การดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพโดยใข้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการ ค้นหาสาเหตุต้นตอ (Root causes) ที่แท้จริง ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆองค์กรแพทย์โดยคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐาน ได้ทำการแนะนำ แต่ละ PCT เริ่มกิจกรรมวิเคราะห์กระบวนการรักษาที่สำคัญ และปรับปรุงอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ในการนำปัญหาของการรักษาพยาบาลผู้ป่วย มาทำการวิเคราะห์ และปรับปรุงค้นหา สาเหตุต้นตอที่แท้จริง เช่น ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยในภาวะ Leptospirosis ว่ามีปัญหาจากสาเหตุใด

ปัญหาในการดูแลผู้ป่วย NF จนสามารถรู้สาเหตุของปัญหาและสามารถนำกระบวนการ audit มาใช้ในการสร้างสรรค์แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ได้แก่ ลด preventable death ได้ชัดเจน

7.2.5 การประเมินการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาคุณภาพ และเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบผลจากการทบทวนในด้านการพัฒนาคุณภาพ ได้มีการเผยแพร่เอกสาร การทบทวนดังกล่าวแก่โรงพยาบาลชุมชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ PCU

7.2.6 การติดตามเพื่อให้เกิดการรักษาระดับคุณภาพและเกิดการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องในระยะยาวการติดตามเพื่อให้เกิดการรักษาระดับคุณภาพและเกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ได้แก่ การเก็บตัวเลข ในแง่ preventable death/complication ผู้ป่วย DM.

7.3 มีการนำมาตรฐานแห่งวิชาชีพ และความรู้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Evidence-based) มาเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
7.3.1 มีกระบวนการที่จะนำความรู้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) ของโรงพยาบาลทางองค์กรแพทย์โดย PCT ของกลุ่มงานต่าง ๆ แพทย์และผู้เกี่ยวข้องจะได้นำความรู้มาตรฐาน จากราชวิทยาลัย มาจัดทำ CPG ของโรงพยาบาล โดยปรับเปลี่ยนตามศักยภาพของโรงพยาบาล
7.3.2 มีกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุงทางองค์กรแพทย์มีกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น