วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แผนพัฒนาองค์กรแพทย์ 2552 - 2553

1 จัดทำคู่มือแพทย์ รพ สังขะ กำหนดเสร็จ 31 ธันวาคม 2552
2 จัดงานปีใหม่ร่วมกับ OPD (จับฉลากแลกรางวัล รางวัลใหญ่ จากองค์กรแพทย์)
3 อวยพรปีใหม่ผู้อำนวยการ ปลายเดือน ของขวัญ จัดทำ Gard ปีใหม่รูปแพทย์ เดินสวัสดีปีใหม่และมอบของขวัญให้ทุกหน่วยงาน
4 ร่วมจัดงานวันเด็ก กับแพทย์นันทภัทร
5 รดน้ำดำหัว ผู้อำนวยการ ในงานเทศการณ์สงกรานต์
6

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

flu

ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ชนิดเอ เอช1เอ็น1
ไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1
Influenza A (H1N1)

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศ

เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก

การแพร่ติดต่อ
เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก
ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน อาการป่วยใกล้เคียงกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดย
- รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
- ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
- พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม
- นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
- ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- หากต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที
- ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังไอ จาม
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา

การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
- หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรลาหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3 - 7 วัน ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก
- พยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคลุกคลีกับคนอื่น ๆ
- สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชูปิดจมูกปากทุกครั้งที่ไอจาม ทิ้งทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
ใส่ใจ ห่วงใยคนรอบข้าง
สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค
http://beid.ddc.moph.go.th

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ธรรมนูญองค์กรแพทย์

ธรรมนูญองค์กรแพทย์
ธรรมนูญองค์กรแพทย์ ธรรมนูญองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลสังขะ

หมวดที่ 1
ข้อที่ 1 บททั่วไป
1.1 องค์กรนี้ชื่อว่า “องค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ
1.2 สำนักงานห้องพักแพทย์
1.3 ธรรมนูญองค์กรแพทย์ หมายถึง กฎหรือระเบียบซึ่งเป็นข้อบังคับในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรแพทย์
ข้อที่ 2 วัตถุประสงค์
2.1 รักษามาตรฐานทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
2.2 เสริมสร้างความเข้าใจ และความสามัคคีในกลุ่มแพทย์
2.3 ประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น
2.4 วิเคราะห์นำเสนอการบริหารทางการแพทย์ โดยสอดคล้องกับนโยบายโรงพยาบาลสังขะและกระทรวงสาธารณสุข
2.5 ร่วมในการพัฒนาโรงพยาบาลตามนโยบายของโรงพยาบาล
2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สมาชิกองค์กร

หมวดที่ 2สมาชิกองค์กรแพทย์
ข้อ 3 สมาชิกองค์กรแพทย์ได้แก่ แพทย์ที่ปฏิบัติราชการโรงพยาบาลสังขะ
ข้อ 4 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดเมื่อ ตาย ลาออกจากราชการ ย้ายไปปฏิบัติงานที่อื่น

หมวดที่ 3 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 5 ประธานองค์กรแพทย์ คือหัวหน้าแพทย์เวชปฏิบัติ ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการ
ข้อ 6 สมาชิกมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
6.1 ดำเนินการขององค์กรแพทย์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
6.2 ตั้งคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกิจกรรมขององค์กรแพทย์
6.3 ดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือมติขององค์กรแพทย์
หมวดที่ 4 การจัดประชุม
ข้อ 7.1 ต้องจัดให้มีการประชุมองค์กรแพทย์อย่างน้อยทุก 1 เดือนและต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 % ของสมาชิกจึงถือว่าครบองค์ประชุม

หมวดที่ 5 มติขององค์กรแพทย์
ข้อ 8 มติขององค์กรแพทย์ถือเป็นกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับที่สมาชิกต้องปฏิบัติ
ข้อ 9 การลงมติใดๆ จะมีได้ต่อเมื่อมีผู้เข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม
ข้อ 10 คณะกรรมการองค์กรแพทย์จะต้องแจ้งมติการประชุมให้สมาชิกทุกคนทราบ

หมวดที่ 6 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงธรรมนูญองค์กรแพทย์จะกระทำโดยมีสมาชิกร่วมลงชื่อสนับสนุน
อย่างน้อยเกินครึ่งของสมาชิกทั้งหมดเสนอผ่านผู้อำนวการ

....MED.1 เป้าหมายและวัตถุประสงค์
    มีการกำหนดพันธกิจ ขอบเขต เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการจัดบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล และของหน่วยให้บริการทางการแพทย์แต่ละสาขา เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนองค์กรแพทย์โรงพยาบาลสังขะ

    มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อธำรงรักษามาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตลอดจนการพัฒนาเวชปฏิบัติและทบทวนวิชาการเพื่อบริการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยและต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติศึกษา วิเคราะห์งานด้านเวชระเบียนและข้อมูลการบริการทางการแพทย์หรือตัวชี้วัด พร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนที่มารับการรักษาจากโรงพยาบาลสังขะ มั่นใจว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ อีกทั้งเป็นองค์กรส่งเสริมความสามัคคีระหว่างสมาชิก และประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนาคุณภาพงานบริการแก่ผู้ป่วย และเป็นที่แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทางวิชาชีพและสามารถสรุปเป็นมติขององค์กรแพทย์ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลสังขะ


MED.2 การจัดองค์กรและการบริหาร

มีการจัดองค์กรและการบริหารเพื่อจัดให้มีบริการทางการแพทย์ ตามพันธกิจที่กำหนดไว้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพโรงพยาบาลสังขะ จัดแบ่งองค์กรแพทย์แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ลักษณะ
ได้แก่1.โครงสร้างการบริหาร
2.โครงสร้างคณะทำงานด้านคุณภาพ แพทย์ทุกท่านรับผิดชอบงานคุณภาพทุกคน เป็นแกนนำในการัฒนางานคุณภาพในทุก ๆ ด้าน


MED.3 การจัดการทรัพยากรบุคคลมีการคัดเลือกการกำหนดสิทธิการดูแลผู้ป่วย การจัดอัตรากำลัง และการดูแลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้แพทย์ที่มีความรู้ ทักษะ และจำนวนที่เหมาะสมกับภาระงาน

3.1 มีการจัดจำนวนแพทย์ปฏิบัติงานเพียงพอตามความจำเป็นของผู้ป่วยจำนวนการปฏิบัติงานของแพทย์ขึ้นกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยทางกลุ่มงานต่าง ๆ จะรับผิดชอบจัดสรรแพทย์ให้พอเพียงต่อการปฏิบัติแต่ละด้าน โดยให้แต่ละกลุ่มงานได้วิเคราะห์ภาระงาน ความจำเป็นและการปฏิบัติที่เหมาะสมกับจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ และทางกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพจะจัดสรรจำนวนแพทย์ใช้ทุน ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานในกลุ่มงานต่าง ๆ โดยเสมอภาคตามข้อกำหนดของกระทรวง

3.2 มีกลไกดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรมและแพทย์เวรที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ กลไกการดูแลแพทย์ฝึกหัดที่ไม่ใช่แพทย์ประจำ- ปฐมนิเทศรวม โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ แบ่งเป็นปฐมนิเทศในสถานที่ จะมีการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน สิทธิ ผลประโยชน์ นโยบายโรงพยาบาล และนอกสถานที่ จะเน้นถึงความสัมพันธ์ในองค์กร , ปฐมนิเทศย่อยของกลุ่มงาน โดยจัดทำคู่มือปฐมนิเทศแพทย์ใช้ทุนให้ด้วย- ได้มีการสื่อสารจนมีความเข้าใจร่วมกันให้มีการปรึกษาผ่านระบบสื่อสารได้ตลอดเวลา


MED.4 การพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีการเตรียมความพร้อม การพัฒนา และการฝึกอบรมให้กับแพทย์ เพื่อส่งเสริม และเอื้ออำนวย ให้เกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของแพทย์แต่ละคน

4.1 มีการประเมินความต้องการและกำหนดเนื้อหาในการฝึกอบรมทางโรงพยาบาลมีนโยบายส่งเสริมด้านการพัฒนางานในด้านวิชาการและความรู้ โดยแพทย์ทุกคนสามารถสมัครไปอบรมเรื่องวิชาชีพ และความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างน้อย 2 ครั้ง/คน/ปี โดยเนื้อหาจากการประชุมมีประโยชน์ภายในกลุ่มงานสามารถนำมาพัฒนาศักยภาพ เฉพาะด้านในแต่ละคนได้

4.2 มีแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านแพทย์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานโรงพยาบาลสนับสนุนให้แต่ละกลุ่มงานร่วมประชุมวิชาการภายในกลุ่มงาน โดยสามารถเชิญวิทยากรภายนอกได้อย่างอิสระ และสนับสนุนเงินทุนด้านตำราหนังสือวิชาการเข้าห้องสมุดและห้องพักแพทย์ทุกปี สำหรับงานบางด้านที่ต้องการความรู้เฉพาะด้าน มีการสื่อสารให้แพทย์ผู้เกี่ยวข้องไปอบรมโดยตรงตามความเหมาะสมไม่จำกัดจำนวนครั้ง

4.3 มีการจัดปฐมนิเทศสำหรับแพทย์ใหม่ หัวหน้าหน่วยงาน และประธานคณะกรรมการ ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ ในเรื่องนโยบาย วิธีการทำงาน และความคาดหวังขององค์กรทางโรงพยาบาลได้จัดปฐมนิเทศให้แก่แพทย์จบใหม่และผู้ที่ย้ายมาปฏิบัติงานใหม่ทุกปี รวมถึงปฐมนิเทศภายในหน่วยงานเพื่อให้รับทราบระเบียบละแนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้อง และนโยบายโรงพยาบาลสังขะ

4.4 มีการพัฒนา ฝึกอบรม และศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ ที่สอดคล้องกับปัญหาการดูแลรักษาผู้ป่วย โรงพยาบาลมีกลุ่ม resource plan ประสานงานกับองค์กรแพทย์ โดยคำนึงถึงศักยภาพที่มีอยู่ ดังนั้นแพทย์ทุกคนที่รับผิดชอบงานต่าง ๆ มีการวางแผนส่งแพทย์ไปอบรม เพื่อปฏิบัติงานแก้ปัญหาของโรงพยาบาล

4.5 มีการประเมินแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปของการเปลี่ยนพฤติกรรม และผลกระทบต่อการดูแล/บริการผู้ป่วยองค์กรแพทย์ มีการประเมินผลการปรับแผนพัฒนาทรัพยากรทุกปี เพื่อสอดคล้องกับผลกระทบต่อการดูแล/บริการผู้ป่วย


MED.5 ธรรมนูญ ข้อบังคับ นโยบายและวิธีปฏิบัติมีธรรมนูญ ข้อบังคับ นโยบายและวิธีปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งสะท้อนความรู้และหลักการวิชาชีพที่ทันสมัย สอดคล้องกับพันธกิจของบริการทางการแพทย์/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และทุกคนยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

5.1 มีการจัดทำธรรมนูญหรือข้อบังคับขององค์กรแพทย์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลมาตรฐานและจริยธรรมการทำงานโดยกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันเอง โดยคณะแพทย์มีส่วนร่วมในการจัดทำ และได้รับการรับรองจากองค์กรบริหารสูงสุด

5.2 มีกระบวนการจัดทำนโยบาย/วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ รวมทั้งมีระบบในการรับรอง เผยแพร่ และทบทวน คณะกรรมการองค์กรแพทย์มีการจัดทำนโยบาย วัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กรแพทย์

5.3 เนื้อหาของนโยบาย/วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแพทย์มีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาล ครอบคลุมเรื่องของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การบริหารจัดการ ประเด็นทางจริยธรรม/กฎหมาย/สังคม ความปลอดภัย และการพัฒนากำลังคนนโยบายขององค์กรแพทย์ ประกอบด้วย 4 ข้อ
- พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแพทย์
- พัฒนาและทบทวนวิชาการให้ทันสมัยสอดคล้องกับการปฏิองแพทย์บัติงาน
- พัฒนาความสมบูรณ์และวิเคราะห์งานด้านเวชระเบียน
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของแพทย์
- สอดคล้องกลยุทธ์ของโรงพยาบาลในงานด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานวิชาชีพ

5.4 แพทย์ทุกคนรับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบาย/วิธีปฏิบัติข้อตกลง/ข้อปฏิบัติใด ๆ ในองค์กรแพทย์ที่สำคัญจะต้องผ่านการรับรองจากสมาชิกทุกคนขององค์กรแพทย์

MED.6 การดูแลผู้ป่วยแพทย์ทุกคนให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ และอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่ทันสมัย

6.1 มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างสหสาขาวิชาชีพต่างๆและภายในวิชาชีพแพทย์งานด้านการดูแลผู้ป่วยร่วมกันในระหว่างสหสาขาวิชาชีพ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของแพทย์ ได้แก่ การรวบรวม PCT ของทีมเฉพาะด้าน เช่น ผลงานการดูแลผู้ป่วยของแต่ละ PCT
Melioidosis treatment
สูตรผสม Inotrope drugs
Epilepsy guideline
Hypertensive crisis guideline
Cellulitis - NF guideline
Acute febrile guideline
Strongyloidosis treatment
H1N1 guideline
Leptospirosis guideline
Malaria guideline
http://sangkha-medicine.blogspot.com/2009/11/155-70yr-f-dizziness-1-mo.html-

- PCT สูตินรีเวชกรรม : แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
- PCT กุมารเวชกรรม : แนวทางการดูแลเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย


- PCT เวชปฏิบัติทั่วไป :
แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน หอบหืด วัณโรค เอดส์ ผู้สูงอายุ
แนวทางการดูแลผูป่วยเบาหวานและความดันที่ PCU
การรับปรึกษาระหว่างแผนกมีแนวทางการรับปรึกษาชัดเจนระหว่างแผนก เช่น แนวทางการรับปรึกษาผู้ป่วยแผนก อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ใน/นอกเวลาราชการ

6.2 ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการดูแลรักษาถือเป็นข้อตกลงร่วมกับของสมาชิกองค์กรแพทย์ โดยคณะอนุกรรมการ จริยธรรมวิชาชีพ และสิทธิผู้ป่วย กำหนดให้มีแนวทางการให้ข้อมูลผู้ป่วยของแพทย์ เช่น การให้ข้อมูลการวินิจฉัยโรค, การดำเนินการของโรค,การพยากรณ์โรค,ทางเลือกในการรักษา และให้ผู้ป่วย มีสิทธิเลือกแนวทางการรักษา

6.3 มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็นระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว กับทีมผู้ให้บริการทางองค์กรแพทย์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่แพทย์ต้องให้การบริการแก่ผู้ป่วย และญาติ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย

6.4 ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการประเมินและวางแผนการดูแลรักษาเป็นระยะองค์กรแพทย์ได้กำหนดให้มีการพัฒนาการประเมินผู้ป่วยเป็นระยะ โดยเริ่มทำผ่านทาง progress note ของแพทย์ เพื่อสะดวกในการประเมินลักษณะทางคลินิกตลอดจน แผนการรักษาที่ปรับเปลี่ยนตามอาการทางคลินิก ของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลง

6.5 กระบวนการให้บริการและดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ของโรงพยาบาล มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) ของโรงพยาบาล ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิผลของวิธีการรักษาองค์กรแพทย์โดย PCT ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติการรักษาโรคที่สำคัญ พบบ่อย และมีความเสี่ยงสูง โดยมุ่งเน้นคุณภาพของการรักษา และความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ป่วย ญาติและผู้ให้บริการ

6.6 มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ปัญหาของผู้ป่วย แผนการดูแลรักษา การปฏิบัติตามแผน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้บริการและเกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษาคณะกรรมการองค์กรแพทย์ได้จัดทำ Admission note ,orderและจัดทำ Progress note มีประโยชน์ ในการสื่อการ การเปลี่ยนเเปลงทางคลินิกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานแพทย์ พยาบาล ทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยร่วมกัน

6.7 มีกระบวนการที่จะช่วยให้ผ้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตปกติกับครอบครัวได้เร็วที่สุดองค์กรแพทย์ผ่านทุก PCT มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องถึงระดับในชุมชน โดย PCU ในด้านการดูแลต่อเนื่องให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตตามปกติกับครอบครัวได้เร็วที่สุด และรายงานกลับโดยใช้แบบ บส.1ทุก PCT มี Discharge plan ในโรคที่สำคัญ

MED.7 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพมีกิจกรรมติดตามประเมินและพัฒนาคุณภาพของการให้บริการทางการแพทย์ โดยการทำงานเป็นทีม สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของโรงพยาบาล และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

7.1 มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของบริการทางการแพทย์ โดยความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ/ทุกสาขาวิชาชีพ ทั้งภายในหน่วยงาน/ระหว่างหน่วยงาน ภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารทางการแพทย์ทางองค์กรแพทย์ ตัวอย่าง Grand round PCT conference caee มีตัวแทนของสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์เฉพาะทาง , แพทย์ใช้ทุน พยาบาล เภสัช นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย นักโภชนากร

การดูแลผู้ป่วยในโรคอุบัติใหม่ที่สำคัญของอำเภอสังขะ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ (swine flu) ซึ่งถือเป็นปัญหาร้ายแรงและสำคัญ ระดับประเทศ ซึ่งทางแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร่วมกันกำหนดแผนในการเตรียมรับสถานการณ์ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างดี ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหาร จนไม่มีปัญหาในการรับผู้ป่วยดังกล่าว สามารถกำหนดสถานที่รองรับที่ถูกต้องตามระบาดวิทยา และได้จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เป็นมาตรฐานของโรงพยาบาลของโรงพยาบาลสังขะ

7.2 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพประกอบด้วย

7.2.1การวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วยและลูกค้า (customer) หรือบุคคล/หน่วยงานที่ใช้บริการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางองค์กรแพทย์ได้รับข้อมูลการวิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการจากหน่วยงานด่านหน้า ได้มาปรับให้บริการเหมาะสมยิ่งขึ้น ได้แก่ ปรับให้มีแพทย์ออกตรวจช่วงเวลา 07.30 - 08.30 และ 16.30 - 20.00

7.2.2 การควบคุมกำกับ (monitor) ข้อมูลและสถิติ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญการควบคุมเกี่ยวกับข้อมูลและสถิติ ได้กระทำผ่าน PCT ทุกเดือน โดยศูนย์ข้อมูล และกลุ่มพัฒนาบริการสุขภาพ ได้จัดทำข้อมูล และนำไปวิเคราะห์ผลเพื่อการปรับปรุงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ตัวชี้วัดของนโยบายพัฒนาคุณภาพขององค์กรแพทย์ ดังนี้
นโยบายเครื่องชี้วัดผ
ลลัพธ์1. พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแพทย์
1.1 Preventable Death ลดลง > 40 %
1.2 ลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ไม่เกิน 3: 100
1.3 จำนวนเรื่องร้ายแรงที่ถูกร้องเรียนเกี่ยวกับองค์กรแพทย์

พัฒนาและทบทวนวิชาการทันสมัย
1.1 จำนวนหรือ % ของ CPG ที่มีและมี การใช้งานอย่างต่อเนื่อง
1.2 อัตราการพัฒนาบุคลากรทางด้านแพทย์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 CPG ใช้งาน ...%

พัฒนาความสมบูรณ์ และวิเคราะห์งาน ด้านเวชระเบียน
1.1 ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนไม่น้อยกว่า 50 %

2.3 การเลือกกิจกรรมหรือกระบวนการดูแลรักษาและบริการที่สำคัญมาประเมินและปรับปรุง

7.2.4 การดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพโดยใข้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการ ค้นหาสาเหตุต้นตอ (Root causes) ที่แท้จริง ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆองค์กรแพทย์โดยคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐาน ได้ทำการแนะนำ แต่ละ PCT เริ่มกิจกรรมวิเคราะห์กระบวนการรักษาที่สำคัญ และปรับปรุงอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ในการนำปัญหาของการรักษาพยาบาลผู้ป่วย มาทำการวิเคราะห์ และปรับปรุงค้นหา สาเหตุต้นตอที่แท้จริง เช่น ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยในภาวะ Leptospirosis ว่ามีปัญหาจากสาเหตุใด

ปัญหาในการดูแลผู้ป่วย NF จนสามารถรู้สาเหตุของปัญหาและสามารถนำกระบวนการ audit มาใช้ในการสร้างสรรค์แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ได้แก่ ลด preventable death ได้ชัดเจน

7.2.5 การประเมินการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาคุณภาพ และเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบผลจากการทบทวนในด้านการพัฒนาคุณภาพ ได้มีการเผยแพร่เอกสาร การทบทวนดังกล่าวแก่โรงพยาบาลชุมชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ PCU

7.2.6 การติดตามเพื่อให้เกิดการรักษาระดับคุณภาพและเกิดการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องในระยะยาวการติดตามเพื่อให้เกิดการรักษาระดับคุณภาพและเกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ได้แก่ การเก็บตัวเลข ในแง่ preventable death/complication ผู้ป่วย DM.

7.3 มีการนำมาตรฐานแห่งวิชาชีพ และความรู้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Evidence-based) มาเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
7.3.1 มีกระบวนการที่จะนำความรู้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) ของโรงพยาบาลทางองค์กรแพทย์โดย PCT ของกลุ่มงานต่าง ๆ แพทย์และผู้เกี่ยวข้องจะได้นำความรู้มาตรฐาน จากราชวิทยาลัย มาจัดทำ CPG ของโรงพยาบาล โดยปรับเปลี่ยนตามศักยภาพของโรงพยาบาล
7.3.2 มีกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุงทางองค์กรแพทย์มีกิจกรรมทบทวนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดอ่อนนำไปปรับปรุง

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แผนปรับ OPD

1 หากระถาง OPD หรือกระบะสี่เหลี่ยม สีขาว
2 ไม้ laminate จับบัว หน้าห้อง ตรวจ

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เตรียมประชุมเดือน ธันวา 52

1 อายุรแพทย์ ขอปรับการ Round เป็น Round สลับ OPD เพื่อ.ให้ ผูป่วย Med OPD ได้ตรวจเร็วขึ้น
2 ตามงานที่ขอไป....3 จาก รพ สต sticker ไม้เคาะ jerk
3 แจ้งว่ามีประชุมบ่อย อัคคีภัย รพ สต FA RM
4 ลา 2 คน OK ????
5 Mirror laryngoscopy [Indirect laryngoscope] NEJM january 17, 2008
http://phimaimedicine.blogspot.com/2009/11/184mirror-laryngoscopy.html

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ภาระกิจเดือน พฤศจิกายน 52 - กุมภา 53

19 พ.ย 52 ออกตรวจงานช้าง มอบ พ. อำนาจ มอบ พ นัฐฏพล ไปแทน
18-20 พ.ย 52 พ.วุฒิชัย ประชุม RM ก ท ม.
25-27 พ.ย 52 พ.นันทภัทร ประชุม HA ขอนแก่น

8-11-09 Tue-HA HOS 13.30 - 16.30 พ.นันทภัทร รับป้ายทอง เมืองทองธานี ?
9 ธ.ค 52 ออกรับบริจาคเลือด
16-12-52 พุธ ประชุมวิชาการโรงพยาบาลตำบล ครั้งที่ 3 พ.วุฒิชัย พ.นันทภัทร
ออกตรวจผู้พิการ รอ confirm จากพี่เจี๊ยบอีกรอบ
1 -12-52 อังคาร
3-12-52 พฤหัส
15-12-52 อังคาร
17-12-52 พฤหัส
22-12-52 อังคาร
29-12-52 อังคาร
5-01-53 อังคาร
7-01-53 พฤหัส
12-01-53 อังคาร
21-01-53 พฤหัส
26-01-53 อังคาร
28-01-53 พฤหัส
04-02-53 อังคาร

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประชุมแพทย์วาระพิเศษ


ทีมแพทย์ประชุมเวลา 12.00 น 21 ตุลา 52 ห้องพักแพทย์
ในประเด็นดังนี้

1 ข้อตกลงการตรวจ 07.30 - 08.30 น
สืบเนื่องจากทีม OPD สับสนเวลาส่งผู้ป่วยว่าจะส่งก่อนได้หรือไม่ ระเบียบการเบิกเงินคือ ตัดที่ 07.30 - 08.30 น
ในที่ประชุมมีมติ ให้ส่งผู้ป่วยที่ 07.30 -08.30 น.
2 การ Round ห้องพิเศษตึกเด็ก
ทบทวนนโยบายเดิมคือ ให้ใช้ห้องพิเศษทุกห้องให้เกิดประโยชน์ที่สุด

2.1 ที่ผ่านมา MED พบปัญหา case บาง case ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเช่น CHF ซึ่งไม่เหมาะในห้องพิเศษ จึงเสนอให้แพทย์ MED ประจำตึกชายหรือหญิง อนุญาติก่อน ย้ายเข้าห้องพิเศษ
กรณี case NON MED ยึดตามคำสั่งแพทย์ที่ดูแลคนแรกหรือเจ้าของตึก
2.2 พบปัญหาการ notify case ห้องพิเศษช้า ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลช้า แนวทางแก้ไขคือให้ตึกเด็กแจ้งแพทย์โดยตรงก่อน 10.00 น โดยไม่ต้องผ่านพยาบาลตึกชาย
3 clinic asthma TB

ปัจจุบัน Clinic TB asthma ยังประสบปัญหาดังนี้
3.1 จำนวนผู้ป่วย asthma มากขึ้น วันละ 50-60 คน
แนวทางแก้ไข คือจะปรับเปลี่ยนจากวันอังคาร ที่ 2 และ 4 เป็นทุกวันพฤหัส
3.2 ที่อยู่ คลินิกยังไม่แน่นอน ยังต้องใช้ หน้าห้องยาและหน้าห้องประชุมสานฝัน สลับไปมาตามสถานการณ์
3.3 ไม่มี notebook ประจำคลินิก TB และ Asthma เป็นของตัวเอง ต้องยืมฝ่ายการพยาบาล
แนวทางแก้ไขข้อ 3.2-3.3
- เสนอให้จัดทำคลินิกบริเวณระหว่างที่รอตรวจ และ คลินิกไข้หวัดใหญ่ เป็น TB และ asthma clinic โดยปรับสถานที่ดังนี้
1 เพิ่มโต๊ะ screen 1 โต๊ะ โต๊ะจ่ายยา 1 โต๊ะ
2 เพิ่ม notebook สำหรับแพทย์ตรวจ 1 เครื่อง (ประจำ TB asthma clinic)
3 ปรับสถานที่โดยใช้ไม้ระแนงกั้น ความสูงระดับอก ชนิด PVC จัดเก็บ เคลื่อนย้ายได้สะดวก
ที่ประชุม เห็นด้วยรอนำเสนอผู้อำนวยการ
4.ทีมแพทย์เวชปฏิบัติ เสนอขออนุมัติซื้อ notebook 1 เครื่องสำหรับใช้ในห้องพักแพทย์ ในคลินิกพิเศษต่าง ๆ กรณีเครื่องคอมเสีย ไม่พอ
5 แพทย์สนองแจ้งว่า ตอนนี้กำลังดำเนินการสั่งซื้อ Rapid test for Malaria และ Scrub thyphus แล้ว วางแผนว่าจะยกเลิกการใช้ weil felix และ widal test แทน หลังจากได้ Rapid test for scrub มา
6 แพทย์สนองแจ้งว่ากรณี TFT ให้ส่งเฉพาะ Free T4 Free T3 TSH ที่ประชุมเสนอให้ห้อง LAB ตัด LAB T3 T4 ออกเพื่อลดค่าใช้จ่าย
7 แพทย์เสนอว่า คอมเสีย error บ่อย น่าจะมีมารตรการประกันเวลาเสีย มอบแพทย์นัฏฐพลประสาน IT แก้ไข
8 แพทย์เสนอให้มีเจ้าพนักงานเภสัชหรือเภสัช บริหารยาช่วง 24.00 - 08.00 แทนพยาบาล ER เพื่อให้ผูรับบริการได้ยาที่ถูกต้อง ลด MED error
9 เวลาเยี่ยมผู้ป่วย ระยะเวลาเดิม คือ 08.30 -11.00
พบว่ามีข้อตกลงเดิมแล้ว แต่ไม่ได้ทำตาม แพทย์วุฒิชัย ประสานทุกตึกแล้ว พบว่าดีขึ้น
10 แพทย์เสนอว่าพบญาติ สูบบุหรี่บริเวณทางเดิน ที่นั่งเล่น
ที่ประชุมมีมติ นำเสนอทีม ENV ดำเนินการ

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เตรียมประชุมเดือน พฤศจิกายน 2552

แจ้งให้ทราบ
ได้รับหนังสือจากกรมการแพทย์ 1 เล่ม โรคติดเชื้ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ
1 เปลี่ยน asthma clinic เป็นวันจันทร์
2 การ Booking ให้ลงวันที่ Booking ด้วยเพื่อจัดลำดับ คนที่ลงทีหลัง เป็นผู้จัดหาแพทย์จากที่อื่น กรณีอัตรากำลังไม่พอ
จัดทำตารางชี้แจงอัตรากำลังทุกเดือน
3 แจ้ง CPG รพ สต แพทย์ช่วยส่ง case stable ไป รพ สต โดยใช้แบบฟอร์มการส่งต่อผู้ป่วย
4 กรณีส่งต่อ รพ สต ใช้แบบฟอร์มและลงนัดเป็น นัดที่ รพ สต ตรวจ หรือ สะกาด หรือ ตาตุม หรือ ส อ ใกล้บ้าน
5 แพทย์สาวิกา นำเสนอโปรแกรมชันสูตรพลิกศพ มอบหนังสือและคู่มือจาก สสจ เมื่อ 14-10-52
6 แพทย์ IPD-MED อยู่เวร ER ควบทำให้ Round ช้า case ER ได้รับการดูแลช้า
แก้ปัญหาโดย ไม่จัดให้ IPD-MED อยู่ ERควบ กรณีทำไม่ได้ (หมายเหตุในตารางเวร)
7 แพทย์เสนอปัญหา chart ลงลายชื่อผู้ป่วย Dx ward ไม่ชัด อ่านยาก เสียเวลาเขียน แพทย์เสนอทำสติกเกอร์แทน รอนำเสนอทีม IM
8 การเยี่ยมผู้ป่วยไม่เป็นระบบ ทำให้การดูแลรักษาลำบาก ไม่สะดวก เสนอให้กำหนดเวลาเยี่ยมให้ชัดเจน กรณีแพทย์มา round ควรให้ญาติอยู่ด้วยไม่เกิน 1 คนต่อ 1 เตียง
รอนำเสนอในที่ประชุมคญะกรรมการ รพ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2552
9 ตึกเด็ก notiy แพทย์ round 14.00 น ปรับเป็น งดรับผู้ป่วย adult
10 ประสานIT จัดทำแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ลาป่วยใช้ใน IPD
11 Mask ไม่พอใช้
12 Poly oph หมด รพ
13 LAB กรณีเครื่องเสีย จัดทำ flow
14 ออกตรวจคนพิการ ธันวา มกรา กุมภา มีนาคม รวม 26 วัน แพทย์ 6 คน เฉลี่ยคนละ 4-5 วัน
15 feedback from nurse

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

คู่มือแพทย์

สมาชิก แพทย์ 8 ท่าน รวมผู้อำนวยการ เป็น 9 ท่าน

1 พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยม
2 แนะนำโรงพยาบาล
3 แนะนำทีมแพทย์เวชปฏิบัติ
4 บทบาทหน้าที่
5 เวร
6 ค่าตอบแทน
7 การลา
8 อบรม
9 ข้อตกลงกับ OPD ER LAB IPD X-RAY 

ประชุม ตุลา 52




เริ่มประชุมเวลา 12.25 น

วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งให้ทราบ
โรงพยาบาลสังขะกำลังจะได้ตึก 5 ชั้น ซึ่งมีแผนจะมี ICU หน่วยทันตกรรม ห้องพิเศษ ห้องประชุม ในอนาคต

วาระที่ 2 เรื่องรับรองการประชุมครั้งที่แล้ว
- รับรอง

วาระที่ 3 ติดตามเรื่องเดิม
3.1 ระบบ IPD พบว่ากรณีแพทย์เวรเด็กอยู่เวร on call แพทย์ NON MED ต้องดูแลผู้ป่วย LR NON-MED ชาย หญิง MED (อีก 1 ตึกที่ MED ไม่ได้ round)ให้จัดเวร IPD เฉพาะแพทย์ที่สามารถอยู่ได้ ได้แก่แพทย์โกวิท แพทย์อำนาจ แพทย์วุฒิชัย กรณีอยู่ไม่ได้ ไม่ต้องจัด ใช้ระบบเดิมหลังดำเนินการ 1 เดือนพบว่า.......ไม่มีปัญหา
3.2 OPD และคลินิกพิเศษ OPD สามารถจัดพนักงานช่วยเหลือได้ 1 คนต่อ 2 ห้องเนื่องจากอัตรากำลังไม่พอมติที่ประชุม รับทราบและ เสนอให้พัฒนาทักษะการดูแลคนไข้หลังดำเนินการ 1 เดือน พบว่า มีการปรับดีขึ้น แต่ยังไม่ครบในบางประเด็น
3.3 LAB ....ยังพบปัญหาเดิม (Lab error)
ประธานแจ้งว่ากำลังปรับเปลี่ยนระบบให้ใหม่ ฝากแพทย์ช่วยดูแลกำกับด้วย
3.4 ปัญหาแพทย์ เหนื่อยล้าจากภาระงาน ได้นำเสนอหาแนวทางดังนี้
1 หาแพทย์จากที่อื่นมาช่วยอยู่เวร ในที่ประชุมเห็นด้วย
2 กรณีโรงพยาบาลสุรินทร์ โรงพยาบาลปราสาท แก้ปัญหาโดยให้ staff ช่วยอยู่เวร ER
3 แพทย์วุฒิชัย เสนออยู่เวรวันหยุดเพิ่มจาก IPD เป็นอยู่เวร IPD OPD ER ด้วย
4 ผลักดันให้มีแพทย์เพิ่ม 10-12 คนต่อปี
5 โรงพยาบาลตำบลน่าจะช่วยลดปริมาณคนไข้ได้บ้าง แต่ต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งหากต้องการลดผู้ป่วยช่วง 16.00 - 20.00 และวันหยุดด้วย โรงพยาบาลตำบลอาจต้องขยายเวลาให้เทียบเท่าโรงพยาบาลสังขะ
6. เพิ่มค่าตอบแทนเวร ER เป็น 1.5 เท่า
7. ใช้วันลาพักผ่อนลาพักผ่อนบ้าง แทนวันหยุด โดยอนุโลมให้แพทย์ลาพักผ่อนได้ 2 คน บางกรณี (ที่ผ่านมาแพทย์ไม่สามารถหาแพทย์อื่นมาแทนได้ จึงไม่สามารถลาพักผ่อนได้)
8.ในปี 2553 ถ้าอัตรากำลังแพทย์เท่าเดิมคือ 8 ท่าน ได้แก่ กุมารแพทย์ 1 สูตินรีแพทย์ 1 แพทย์ทั่วไป 6 ภาระงานอาจหนักกว่าเดิม
ผู้อำนวยการเห็นด้วย 1,3,4,5,7,8 แนะนำว่า ให้หาแพทย์จาก รพ.อื่นหรือ แพทย์ รntern ล่วงหน้า ให้รถไป รับ-ส่ง ได้
ส่วนข้อ 6 ต้องเป็นคำสั่งจาก สสจ จึงสามารถทำได้
3.5 จากการประชุม ค ป ร ครั้งที่แล้วประธานมอบให้สำรวจครุภัณฑ์ต่าง ๆ ผลดังตารางที่แนบมา
พ.วุฒิชัยได้ประสานคุณทัศนีย์บันทึกขอเครื่องอัลตราซาวด์เพิ่ม รวมโรงพยาบาลต้องการ 3 เครื่อง
1 เครื่องอัลตราซาวด์ห้องคลอด ย้ายไป คลินิก ANC
2 เครื่องอัลตราซาวด์ห้องฉีดยา ย้ายไปห้องคลอด
3 เครื่องอัลตราซาวด์ใหม่ ไว้ที่ห้องฉีดยา
แพทย์ได้นำเสนอปัญหาเดือนกันยายน 1 ตุลาคม พบว่าเครื่องอัลตราซาวด์มีใช้ได้ 1 เครื่อง เสีย 1 ครั้ง แพทย์วุฒิชัยได้ประสานเภสัชพิษณุแล้ว รอดำเนินการติดตั้ง คาดว่าน่าจะได้ภายในเดือนนี้
3.6 ห้องตรวจ 4 – 9 ยังพบปัญหา ร้อน รั่ว เก้าอี้แข็ง
แพทย์เสนอปรับจอคอมพิวเตอร์เป็นจอ LCD เพื่อเพิ่มเนื้อที่บนโต๊ะตรวจ เสนอขอโต๊ะตรวจใหม่
ผู้อำนวยการ จะเปลี่ยนโต๊ะให้ แก้ปัญหาห้องตรวจให้ วางแผนว่าจะรื้อฝ้าใหม่ เมื่อฝนลดลง
4.0 ทีมแพทย์เห็นว่าอัตรากำลังห้องฉีดยา(วันหยุด) เปล ER (บ่ายและวันหยุด)ไม่เพียงพอ เสนอจัดให้เพียงพอกับภาระงาน
มติที่ประชุม นำเสนอผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการรับทราบ
4.1 โครงการ audit 100 %
ผ่านไป 12 วันพบว่า..ได้ผลดี ผลการปรับ DRG เพิ่มขึ้น

วาระที่ 4 เรื่องเสนอจากที่ประชุม.
1 ขออนุมัติ กล่องดู film ห้องไข้หวัดใหญ่ อ่างล้างมือ ดำเนินการแล้ว
2 บันทึกขอนาฬิกาติดผนัง 4 ตัว ดำเนินการแล้ว
3 บันทึกขอโต๊ะวางกล้องจุลทรรศน์ ดำเนินการแล้ว
4 แพทย์เสนอให้พิมพ์ใบรับรองแพทย์ที่ ward แทนการเขียนเพื่อลดเวลาการเขียน ได้ ประสานคุณชินพงษ์แล้วรับดำเนินการเพิ่มช่อง ส่ง รพ สต สะกาด ตรวจ ตาตุมเพิ่มช่อง นัดตรวจที่ สถานีอนามัย ใกล้บ้าน
5 หนังสือ MIM ประสานห้องยาแล้ว จะจัดซื้อ internal drug handbook (เนื้อหาดีกว่า) ให้แทน 2 เล่ม
6 แพทย์วุฒิชัยเสนอ ค่านิยมทีมแพทย์ รพ สังขะ ตรงต่อเวลา รับผิดชอบ จรรยาบรรณ
สมัครสมาน สามัคคี senirity เบื้องต้น รอปรับในการประชุมเดือนถัดไป
7 จากการสำรวจห้องพักแพทย์พบว่าเครื่องพิมพ์เดิมช้า ต้องเปลี่ยนหมึกบ่อย แพทย์เสนอขอเปลี่ยนเป็นเครื่องพิมพ์ชนิด Laser jet
แพทย์วุฒิชัยได้ประสานคุณชินพงษ์แล้ว พบว่าไม่มีจุดไหนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ จึงอนุมัติซื้อใหม่(13 ตุลาคม 2552) และย้ายเครื่องเดิมให้คลินิก Thalassemia ของแพทย์นันทภัทร
8 แพทย์สนองเสนอ Rapid test เข้าเพื่อใช้ตรวจช่วยในกรณีที่สงสัย scrub thyphus typhoidประธานมอบหมายให้ปรึกษากับห้อง LAB และนำเสนออีกครั้ง
9 แพทย์เสนอคลินิกไข้หวัด พบปัญหาผู้ป่วยมาก ที่ประชุมมอบทีมคลินิกไข้หวัด (IC) ปรับระบบ screen
10 แพทย์นันทภัทรจะดำเนินการคลินิกธาลัสซีเมียให้เกิดขึ้น ซึ่งจะให้บริการเด็กธาลัสซีเมียในวันพฤหัสเช้า จึงขออนุญาตเสนอโครงการและแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
11 ปัญหาเครื่อง Defibrillator ER เสีย ER ได้ดำเนินการแจ้งซ่อมไปแล้ว ได้แก้ปัญหาเบื้องต้นคือ นำเครื่องประจำห้องคลอดมาใช้ปัจจุบันมีเครื่อง Defibrillator 5 เครื่องด้วยกัน
1 ไว้ที่ ER
2 ห้องคลอด
3 ตึกหญิง
4 ตึกชาย
5 ตึกเด็ก
บนรถ refer เป็นชนิด AED ติดไว้บนรถ
จาการการสำรวจพบว่า Defibrillator ER เสีย ยืมห้องคลอดมาใช้ AED บนรถ เครื่องชาร์ตเสีย ดำเนินการจัดซื้อแล้ว ยังไม่ได้ ในเดือนกันยายนมี case refer ที่ต้องใช้เครื่อง Defebrillator 8 case ออก EMS ที่ต้องใช้ Defibrillator 7 caseสรุปเครื่องมี Defebrillator 5 ใช้ได้ 4 AED 1 ใช้ไม่ได้ที่ควรเป็นคือ Defibrillator 5 ควรใช้ได้ มากกว่าหรือเท่ากับ 4 AED หรือ defibrillator บนรถควรใช้ได้ตลอด 1
จึงขออนุมัติซื้อเครื่อง Defebrillator อีก 1 เพื่อใช้บนรถ refer หรือ EMS (สามารถใช้ทดแทนกรณี ER เสียเหมือนกรณีเดือนตุลาคม 52)
13 ปัญหา IPD
แพทย์เสนอปัญหาแพทย์ Round ผู้ป่วยใน ญาติผู้ป่วยมากเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการดูแลคนไข้
แพทย์เสนอให้มีการกำหนดเวลาเยี่ยม IPD ช่วยเคลียร์ญาติขณะแพทย์ round
ประธานเห็นด้วย มอบแพทย์วุฒิชัย นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลประจำเดือนตุลาคม 2552

วาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ
นัดประชุมครั้งต่อไป ......
ปิดประชุมเวลา 13.40 จุฑารัตน์ พิมพ์

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

แพทย์ ปี 2552








Leadership

องค์กรควรมีนโยบายที่จะให้พนักงานได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
เสนอแนะรูปแบบการทำงาน การออกกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่คนทำงานทุกคนจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจร่วมกัน

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

24 กันยา วันมหิดล

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ฯ

ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2435 ณ พระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงเข้าพิธีโสกันต์เมื่อพระชันษาได้ 13 พรรษา และเมื่อเข้าพิธีโสกัณต์แล้ว ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรม ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2447 และลาผนวชเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2447 ด้วยสมเด็จพระชนกนาถมีพระประสงค์ที่จะส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อในต่างประเทศ พระองค์จึงได้เสด็จไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2448 ณ โรงเรียนกินนอน แฮร์โรว์ เมื่อทรงศึกษาจบจากโรงเรียนแห่งนี้แล้ว ในปี พ.ศ. 2450 จึงเสด็จไปศึกษาต่อที่ Royal Prussian Military College เมืองโพสต์แดม ( Potsdam)ประเทศเยอรมนี ต่อจากนั้นทรงย้ายไปศึกษาต่อที่ Imperial German Naval College Flensburg และทรงจบการศึกษาในปี พ.ศ.2454 โดยทรงสอบไล่ได้ในอันดับที่ 2 นอกจากนั้นยังทรงชนะการ


ประกวดออกแบบเรือดำน้ำอีกด้วย

หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาในวิชาทหารเรือ ทรงเสด็จนิวัติกลับประเทศ ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือประจำกรมเสนาธิการ ในตำแหน่ง นายเรือตรี นายเรือโท และนาวาเอก ตามลำดับ หลังจากนั้นทรงลาออกจากราชการทหารเรือ เพื่อศึกษาต่อในวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีพระราชดำรัสก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่ต่างประเทศว่า

" ฉันจะไปเรียนหมอหละ เพราะเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจนคนมั่งมี และเจ้านายต่าง ๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศล ในการรักษาพยาบาลได้ดี เมืองไทยเราถ้าเจ้านายทรงทำหน้าที่อย่างสามัญชนเข้าบ้างเขาว่าเสียพระเกียรติ ฉันรู้สึกว่ามัวแต่รักษาพระเกียรติอยู่ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน"


ในปี พ.ศ. 2460 ทรงเดินทางไปศึกษาต่อวิชาเตรียมแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อจากนั้นในปี พ.ศ.2462 ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาสาธารณสุขและปรีคลินิกบางส่วนที่ School of Health office Harvard University and the Massachusetts Institute of Technology ในปี พ.ศ.2463 ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นิวัติกลับประเทศครั้งหนึ่งเนื่องในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชริทรา บรมราชินีนาถ ระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศไทยทรงได้เข้าปฎิบัติร่วมกับนักศึกษา และเจ้าหน้าที่แพทย์ ภายในห้องทดลองวิทยาศาสตร์โรงพยาบาลศิริราชทรงเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนเตรียมแพทย์ แผนกอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พระองค์พระราชทานทุนการศึกษาในต่างประเทศให้กับบุตรหลานของเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาในวิชาแพทย์ ชีววิทยา ฟิสิกส์และเคมีเป็นจำนวนเงินถึง 200,000 บาท อีกทั้งยังทรงนิพนธ์หนังสือชื่อว่า Tuberculosis เพื่อจัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หลังจากนั้นจึงเสด็จกลับไปศึกษาจนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2464 ทรงได้รับประกาศนียบัตร C.P.H. เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วจึงเสด็จประพาสยุโรป ในระหว่างนั้นทางกระทรวงธรรมการกำลังเจรจาขอทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯได้ทรงรับมอบอำนาจในการเจรจาครั้งนั้น เนื่องจากทรงมีความรู้ความชำนาญในวิชาแพทย์มากกว่าผู้ใด ทรงเจรจาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ในการขยายและปรับปรุงด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งทางมุลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ก็ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการส่งอาจารย์แพทย์มามาถึง 6 ท่าน และมอบเงินเพื่อจัดสร้างตึกในโรงพยาบาลศิริราชเป็นจำนวนเงินถึง 400,000 บาท อีกทั้งยังมอบทุนให้กับแพทย์เพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศอีกด้วย





นับว่าเป็นผลอันเกิดจากการเจรจาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนกพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่ง คือ เมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ทรงริเริ่มโครงการเพื่อปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น ทรงดัดแปลงโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสำหรับคลอดบุตร และเป็นศูนย์อบรมพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลสาธารณสุข สังคมศาสตร์ และหมอตำแย เพื่อให้การคลอดบุตรมีความทันสมัย และปลอดภัยมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมิใช่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลเท่านั้นที่พระราชทานความช่วยเหลือจนมีความเจริญ แต่ยังพระราชทานความช่วยเหลือไปยังโรงพยาบาลอื่น ๆ อีก เช่น พระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลแมคคอมิค สำหรับจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ จำนวน 16,000 บาท และเพื่อซื้อเครื่องเอกซเรย์อีก จำนวน 6,750 บาท และพระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลสงขลาอีกปีละ 5,000 บาทเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกกรมต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาล ตะละภัฏ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ณ วังสระปทุม มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่






สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชการที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประชวรด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกน ประชวรนานถึง 4 เดือน ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาแต่อาการไม่ดีขึ้น ทำให้เกิดโรคพระอาการบวมน้ำในพระปัปผาสะแทรกซ้อน และพระหทัยวายในที่สุด และเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2472






สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกHis Royal Highness Prince Mahidol of Songkla“พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”“The Father of Modern Medicine in Thailand”

ประชุมประจำเดือนกันยายน 2552


วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งให้ทราบ
1.1 ประธาน นำเสนอและสำเนาบันทึกการประชุม ค ป ร ให้ที่ประชุมรับทราบ
1.2 กุมารแพทย์แจ้งผลการประเมินสายใยแม่และลูกจากเขต ผลได้ระดับทอง
วาระที่ 2 เรื่องรับรองการประชุมครั้งที่แล้ว
- รับรอง
วาระที่ 3 ติดตามเรื่องเดิม
3.1 ระบบRound MED NON-MED เด็ก และตรวจบ่าย พบว่าไม่มีปัญหา
3.2 ระบบ IPD พบว่ากรณีแพทย์เวรเด็กอยู่เวร on call แพทย์ NON MED ต้องดูแลผู้ป่วย LR NON-MED ชาย หญิง MED (อีก 1 ตึกที่ MED ไม่ได้ round)
ในที่ประชุมมี 2 ความเห็นคือ
3.2.1 เห็นด้วยให้มีการเพิ่มเวร IPD เด็กแทนในวันที่กุมารแพทย์เวร on call
3.2.2 ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงว่าอัตรากำลังไม่พอเนื่องจากต้องใช้แพทย์อยู่เวร 5 คนต่อวัน
มติที่ประชุม
ให้จัดเวร IPD เฉพาะแพทย์ที่สามารถอยู่ได้ ได้แก่แพทย์โกวิท แพทย์อำนาจ แพทย์วุฒิชัย กรณีอยู่ไม่ได้ ไม่ต้องจัด ใช้ระบบเดิม
3.3 จัดซื้อ
- ชุดกาแฟได้วันนี้ (ครบ 2 เดือนหลังขออนุมัติ)
- กล้องจุลทรรศน์ ได้แล้ว ขาดโต๊ะวาง ดำเนินการขอเพิ่ม
3.4 การเรียง chart ทุกตึกจัดเรียงเหมือนกันแล้ว ไม่พบปัญหา
3.5 OPD และคลินิกพิเศษ
จากการที่เสนอพยาบาลหรือพนักงานช่วยเหลือคนไข้ ประจำห้องตรวจ 1 คนต่อห้อง จากการติดตามความคืบหน้าจากคุณพนิดา พบว่าสามารถจัดพนักงานช่วยเหลือได้ 1 คนต่อ 2 ห้องเนื่องจากอัตรากำลังไม่พอ
มติที่ประชุม รับทราบและ เสนอให้พัฒนาทักษะการดูแลคนไข้ของพนักงานช่วยเหลือผู้ป่วยในเรื่อง
- ทักษะการช่วยตรวจ เตรียมคนไข้
- การให้คำแนะนำ
3.6 LAB ยังพบปัญหาเดิม คือ LAB error

วาระที่ 4 เรื่องเสนอจากที่ประชุม

4.1 ในที่ประชุม นำเสนอปัญหาแพทย์ ตอนนี้ประสบปัญหาแพทย์เหนื่อยล้าจากภาระงาน เช่นวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ต้องอยู่เวร 6 วันใน 8 วัน ทำให้มีวันพัก 2 วันต่อเดือน เช่นเวรห้องฉุกเฉินต้องดูคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง ในที่ประชุมได้นำเสนอหาแนวทางดังนี้

1 หาแพทย์จากที่อื่นมาช่วยอยู่เวร ในที่ประชุมเห็นด้วย แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาแพทย์ที่อื่นมาอยู่ได้เลย เนื่องจากแพทย์ที่อื่นไม่เพียงพอ
2 กรณีโรงพยาบาลสุรินทร์ โรงพยาบาลปราสาท แก้ปัญหาโดยให้ staff ช่วยอยู่เวร ER
3 แพทย์วุฒิชัย เสนออยู่เวรวันหยุดเพิ่มจาก IPD เป็นอยู่เวร IPD OPD ER ด้วย เพื่อแบ่งเบาภาระแพทย์อีก 5 ท่าน
4 ผลักดันให้มีแพทย์เพิ่ม 10-12 คนต่อปี
5 โรงพยาบาลตำบลน่าจะช่วยลดปริมาณคนไข้ได้บ้าง แต่ต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งหากต้องการลดผู้ป่วยช่วง 16.00 - 20.00 และวันหยุดด้วย โรงพยาบาลตำบลอาจต้องขยายเวลาให้เทียบเท่าโรงพยาบาลสังขะ
6. เพิ่มค่าตอบแทนเวร ER เป็น 1.5 เท่า
7. ใช้วันลาพักผ่อนลาพักผ่อนบ้าง แทนวันหยุด โดยอนุโลมให้แพทย์ลาพักผ่อนได้ 2 คน บางกรณี (ที่ผ่านมาแพทย์ไม่สามารถหาแพทย์อื่นมาแทนได้ จึงไม่สามารถลาพักผ่อนได้)
8.ในปี 2553 ถ้าอัตรากำลังแพทย์เท่าเดิมคือ 8 ท่าน ได้แก่ กุมารแพทย์ 1 สูตินรีแพทย์ 1 แพทย์ทั่วไป 6 ภาระงานอาจหนักกว่าเดิม


4.2 จากการประชุม ค ป ร ครั้งที่แล้วประธานมอบให้สำรวจครุภัณฑ์ต่าง ๆ ผลการสำรวจเป็นดังตารางที่แนบมา
4.3 ปัญหาห้องตรวจ 4 – 9 ยังพบปัญหา ร้อน รั่ว เก้าอี้แข็ง
แพทย์เสนอปรับจอคอมพิวเตอร์เป็นจอ LCD เพื่อเพิ่มเนื้อที่บนโต๊ะตรวจ เสนอขอโต๊ะตรวจใหม่
มติที่ประชุม นำเสนอผู้อำนวยการ
4.4 ทีมแพทย์เห็นว่าอัตรากำลังห้องฉีดยา(วันหยุด) เปล ER (บ่ายและวันหยุด)ไม่เพียงพอ เสนอจัดให้เพียงพอกับภาระงาน
มติที่ประชุม นำเสนอผู้อำนวยการ
4.5 แพทย์วุฒิชัย นำเสนอระบบ audit refer and consult case โรงพยาบาลตำบล และเสนอให้ส่งผู้ป่วย DM HT COPD Bronchitis ที่ stable ให้ส่งลงโรงพยาบาลตำบลได้ .......นำเข้า รพ ตำบล
ที่ประชุมรับทราบ
4.6 แพทย์สนองแจ้งว่าโครงการ audit เวชระเบียนผู้อำนวยการอนุมัติแล้ว แพทย์ต้อง audit 100 % แยกเป็น MED แพทย์สนองรับ audit แพทย์นันทภัทรรับ audit case เด็ก แพทย์อำนาจรับ audit case สูตินรีเวชกรรม แพทย์สาวิการับ audit NON MED โดย audit นอกเวลาราชการ ได้ค่าตอบแทน 5 บาทต่อ 1 เวชระเบียน
ที่ประชุมเห็นด้วย

วาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ

นัดประชุมครั้งต่อไป ยังไม่กำหนด ..